Q: สวัสดีค่ะ ดิฉันเพิ่งเรียนจบโทและอยู่ในช่วง process ของการรอบัตร opt ตอนนี้ทำงานพาร์ทไทม์อยู่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่ชิคาโก้ ได้เงินสดจากทิป และได้ค่าจ้างรายชั่วโมงเป็นเช็ค ได้ประมาณชั่วโมงละ สี่เกือบห้าบาท
ช่วง summer ค่อนข้างยุ่ง ทำให้ได้เงินสดจากทิปเยอะพอสมควร เจ้าของร้านเป็นคนไต้หวันบอกว่า ได้ทิปเยอะก็ต้องจ่าย tax เยอะ เช็คดิฉันได้เป็นศูนย์ติดต่อกันสี่ครั้ง (เช็คออกเดือนละสองครั้ง) อยากทราบว่าเป็นไปได้มั้ยคะ ที่ค่าขั่วโมงจะถูกหักไปจนเหลือศูนย์ ทำงานประมาณ สามสิบห้าถึงสี่สิบขั่วโมงต่อวีค
แล้วที่ร้านมีการหักเข้า house 3% bus 2% จากยอดขาย การหักเข้า house ผิดกฎหมายมั้ยคะ
A: ประเด็นนี้เป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งของคนทำงานร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานอย่างถูกต้องมักประสบบ่อยๆ คือถูกนายจ้างโกง ดิฉันเคยเจอประเภท รับนักเรียนมาทำงาน แต่ไม่ให้ค่าแรงรายชั่วโมง ให้รอแบ่งทิปอย่างเดียว หรือให้ค่าแรงแต่ต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น $8.00/ชม+ทิป ก็จ่ายแค่ $2.50/ชม+ทิป ซึ่งร้านก็ไม่ได้ขายดีมากมาย
ในชิคาโก ค่าแรงขั้นต่ำสำหรับงานที่มีรายได้จากทิปด้วยคือ 4.95/ชม + ทิป ดังนั้นรายได้ในส่วนนี้ของคุณถูกต้องแล้วนะคะ ส่วนรายได้จากทิปเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่วิธีการสำแดงรายได้นั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ และขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตกลงกันอย่างไร เช่น
* ให้คุณเป็นเงินสด คุณไปจัดการเรื่องภาษีส่วนนี้เอาเอง นายจ้างออก W-2 ให้เฉพาะในส่วนค่าแรงรายชั่วโมง หรือ
* ให้คุณเป็นเงินสด ไม่หัก แต่เวลาออก W-2 เขาจะระบุลงไปด้วยว่ารายได้รายชั่วโมงของคุณเท่าไหร่ รายได้จากทิป เท่าไหร่ หรือ
* ให้คุณเป็นเงินสด แต่ทำรายการหักเรียบร้อย วิธีนี้ใน W-2 จะมีรายการหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่ง IRS ให้ชัดเจนทั้งสองรายการ
ถ้าลูกค้าจ่ายทิปด้วยเงินสด นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินทิป 3% หรือ 2% อย่างที่คุณว่ามานะคะ
อัตราภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย โดยทั่วไป รวมแล้วตกที่ประมาณ 25% ของรายได้รวม (Federal tax + Social Security + Medicare + State tax) ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะได้รับเช็คเป็นศูนย์
ถ้าคุณมีหลักฐาน เช่น การบันทึกเวลาเข้าออก ยอดทิปที่นับได้ในแต่ละวัน และหลักฐานอื่นๆ หรือเพื่อนร่วมงานที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน แนะนำว่าให้ทำตามขั้นตอน คือ รวมตัวกันเจรจากับเจ้าของร้าน ถ้าไม่ได้ผลหรือเพื่อนไม่เอาด้วย ให้นำพยานหลักฐานทั้งหมด ร้องเรียนต่อ Labor Department ในเคาน์ตี้ที่คุณอยู่ ไม่ต้องใช้ทนายค่ะ
อนุเคราะห์ข้อมูลโดย http://www.lawanwadee.com/
Friday, August 26, 2011
Tax Refund เงินนี้ของใคร
บ่อยครั้งพบว่าถูกนายจ้างเอาเปรียบค่าแรง และสิทธิอันพึงมีพึงได้อื่นๆ ตามกฏหมายแรงงาน ดิฉันอยากให้บทความนี้เป็นความรู้แก่ทุกคนที่ทำงานในอเมริกาได้เข้าใจ และจะได้ไม่ถูกนายจ้างเอาเปรียบอีกต่อไป
ประเด็นที่จะพูดถึงวันนี้คือ ลูกจ้างที่เป็นคนไทยหลายๆ คน พอสิ้นปียื่นแบบภาษี พอได้เงินคืน ต้องเอาไปคืนให้นายจ้าง อันนี้ไม่ถูกนะคะ
ในฐานะลูกจ้าง ปกติแล้วเมื่อคุณทำงาน จะรับค่าจ้างจะเป็นต่อวีคหรือต่อเดือนก็ตาม รายได้ของคุณจะถูกหักตามอัตราส่วนดังนี้คือ
1. ภาษีเงินได้ของรัฐบาลกลาง 10%-35% ขึ้นอยู่กับรายได้ว่ามากน้อยแค่ไหน เช่น ถ้าคุณมีรายได้ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นหกร้อยเหรียญต่อปี เป็นโสด คุณจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% ถ้าเกินนี้ แต่ต่ำกว่าสามหมื่นหกพันหกร้อย คุณจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% เป็นต้น
2. เงินโซเชี่ยล 6.2 %
3. เมดิแคร์ 1.45 %
4. ภาษีเงินได้ของรัฐ ตั้งแต่ 1% ถึง 12% ขึ้นอยู่กับรายได้ว่ามากน้อยแค่ไหน
จำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของคุณด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดังนั้นจึงควรอัพเดท W-4 ให้เป็นปัจจุบันทุกหกเดือน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกหักมากเกินไป หรือถูกหักน้อยเกินไปจนต้องไปจ่ายเพิ่มตอนปลายปี นายจ้างเมื่อหักภาษีจากเงินค่าจ้างของคุณ จะต้องนำส่งให้ IRS และนายจ้างจะต้องออก W-2 ให้คุณเป็นหลักฐาน ทุกคนจะต้องได้รับ W-2 ภายในวันที่ 30 มกราคม
พอสิ้นปี คุณต้องยื่นภาษี หรือที่เรียกกันว่าทำ Tax Return การยื่นแบบภาษีเป็นการยืนยันจำนวนภาษีที่คุณต้องเสียจริงในรอบปีภาษีนั้นๆ ถ้าคุณหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้น้อย คุณก็จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม แต่ถ้าคุณหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้มากกว่าความเป็นจริง คุณก็จะได้รับเงินคืน
เงิน Tax Return ที่คืนมานี้เป็นเงินของคุณ มาจากจำนวนที่เขาหักจากรายได้ที่คุณได้รับในแต่ละงวด ไม่ใช่เงินของนายจ้าง ดังนั้นคุณไม่ต้องนำไปคืนให้นายจ้าง ถ้าหากนายจ้างของคุณสั่งว่าต้องเอามาคืน แนะนำว่าให้ร้องเรียนไปที่สำนักงานของกระทรวงแรงงาน ในเคาน์ตี้ที่คุณทำงานอยู่ค่ะ
หากคุณมีปัญหาเรื่องภาษี หรือนายจ้างกดขี่ไม่เป็นธรรม หรือนายจ้างหลบเลี่ยงภาษีและทิ้งให้เป็นภาระของคุณ ไม่ทราบว่าจะหาทางออกอย่างไร ติดต่อดิฉันได้ที่ us.tax515@gmail.com ค่ะ
อนุเคราะห์ข้อมูลโดย http://www.lawanwadee.com
ประเด็นที่จะพูดถึงวันนี้คือ ลูกจ้างที่เป็นคนไทยหลายๆ คน พอสิ้นปียื่นแบบภาษี พอได้เงินคืน ต้องเอาไปคืนให้นายจ้าง อันนี้ไม่ถูกนะคะ
ในฐานะลูกจ้าง ปกติแล้วเมื่อคุณทำงาน จะรับค่าจ้างจะเป็นต่อวีคหรือต่อเดือนก็ตาม รายได้ของคุณจะถูกหักตามอัตราส่วนดังนี้คือ
1. ภาษีเงินได้ของรัฐบาลกลาง 10%-35% ขึ้นอยู่กับรายได้ว่ามากน้อยแค่ไหน เช่น ถ้าคุณมีรายได้ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นหกร้อยเหรียญต่อปี เป็นโสด คุณจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% ถ้าเกินนี้ แต่ต่ำกว่าสามหมื่นหกพันหกร้อย คุณจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% เป็นต้น
2. เงินโซเชี่ยล 6.2 %
3. เมดิแคร์ 1.45 %
4. ภาษีเงินได้ของรัฐ ตั้งแต่ 1% ถึง 12% ขึ้นอยู่กับรายได้ว่ามากน้อยแค่ไหน
จำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของคุณด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดังนั้นจึงควรอัพเดท W-4 ให้เป็นปัจจุบันทุกหกเดือน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกหักมากเกินไป หรือถูกหักน้อยเกินไปจนต้องไปจ่ายเพิ่มตอนปลายปี นายจ้างเมื่อหักภาษีจากเงินค่าจ้างของคุณ จะต้องนำส่งให้ IRS และนายจ้างจะต้องออก W-2 ให้คุณเป็นหลักฐาน ทุกคนจะต้องได้รับ W-2 ภายในวันที่ 30 มกราคม
พอสิ้นปี คุณต้องยื่นภาษี หรือที่เรียกกันว่าทำ Tax Return การยื่นแบบภาษีเป็นการยืนยันจำนวนภาษีที่คุณต้องเสียจริงในรอบปีภาษีนั้นๆ ถ้าคุณหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้น้อย คุณก็จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม แต่ถ้าคุณหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้มากกว่าความเป็นจริง คุณก็จะได้รับเงินคืน
เงิน Tax Return ที่คืนมานี้เป็นเงินของคุณ มาจากจำนวนที่เขาหักจากรายได้ที่คุณได้รับในแต่ละงวด ไม่ใช่เงินของนายจ้าง ดังนั้นคุณไม่ต้องนำไปคืนให้นายจ้าง ถ้าหากนายจ้างของคุณสั่งว่าต้องเอามาคืน แนะนำว่าให้ร้องเรียนไปที่สำนักงานของกระทรวงแรงงาน ในเคาน์ตี้ที่คุณทำงานอยู่ค่ะ
หากคุณมีปัญหาเรื่องภาษี หรือนายจ้างกดขี่ไม่เป็นธรรม หรือนายจ้างหลบเลี่ยงภาษีและทิ้งให้เป็นภาระของคุณ ไม่ทราบว่าจะหาทางออกอย่างไร ติดต่อดิฉันได้ที่ us.tax515@gmail.com ค่ะ
อนุเคราะห์ข้อมูลโดย http://www.lawanwadee.com
Replacing Lost or Stolen Documents
ทำอย่างไรถ้าพบว่าเอกสารสำคัญหาย ก่อนอื่นคุณต้องแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอทำเอกสารฉบับใหม่
I-20, DS-2019
F-1 or J-1 ที่เป็นนักเรียน: ติดต่อทางโรงเรียนเพื่อขอ I-20 หรือ DS-2019
H-1B Approval Notice (I-797)
H-1B: นายจ้างจะต้องเป็นคนดำเนินการให้คุณ แต่คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการออกเอกสารใหม่
บัตรอนุญาตทำงาน (EAD Card for F-1 Students on OPT)
ถ้า บัตรหายคุณต้องยื่นฟอร์ม I-765 ต่ออิมมิเกรชั่นเพื่อขอบัตรใหม่ เสียค่าธรรมเนียมเหมือนทำใหม่นะคะ แต่ถ้าเป็นหนแรกและคุณไม่เคยได้รับบัตรเลย ให้ติดต่ออิมมิเกรชั่นก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจหายระหว่างทาง หรือในเมล์ กรณีนี้ทางอิมมิเกรชั่นจะออกเอกสารให้คุณใหม่
Passport
ทันที ที่แน่ใจว่าพาสปอร์ตหาย คุณต้องแจ้งความ หลังจากนั้นให้รีบติดต่อสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุดเพื่อขอทำพาสปอร์ตใหม่ คุณต้องมี ID ของไทยสองอย่าง เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือใบขับขี่
Visa
ถ้า พาสปอร์ตหาย วีซ่าที่อยู่ในนั้นก็จะมีปัญหาด้วย คุณต้องรีบติดต่อสถานกงสุลอเมริกันในประเทศไทย พร้อมกับบันทึกแจ้งความเพื่อแจ้งหาย ทางกงสุลจะได้ยกเลิกหมายเลขวีซ่าของคุณเพื่อป้องกันคนที่ขโมยเอาไปใช้ในทาง มิชอบ คุณยังอยู่ในอเมริกาได้ถูกกฏหมายตราบใดที่คุณมี I-20, DS-2019 ที่เป็นปัจจุบัน เมื่อคุณทำพาสปอร์ตใหม่แล้ว หากคุณกลับเมืองไทย คุณจะต้องไปยื่นเรื่องขอวีซ่าใหม่ เงื่อนไขนี้เหมือนกันไม่ว่าคุณจะถือวีซ่านักเรียน หรือวีซ่าทำงาน
Social Security Card
การ ขอบัตรโซเชี่ยลใหม่อาจจะยากสักหน่อย เพราะคุณต้องมีหลักฐานยืนยันว่าคุณได้รับอนุมัติให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย ถ้าคุณถือวีซ่าทำงานก็ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่หากวีซ่ายังไม่หมด แต่ถ้าคุณถือวีซ่านักเรียนหรือวีซ่าประเภทอื่นที่เคยมีบัตรโซเชียลมาก่อน แต่คุณไม่ได้ทำงาน on campus อีกแล้ว กรณีนี้คุณจะไม่สามารถขอบัตรใหม่ได้
I-94 Card
ถ้า I-94 หาย คุณต้องยื่น Form I-102 เพื่อขอ I-94 ฉบับใหม่ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นควรรีบทำทันทีเพราะจะได้ไม่มีปัญหาหากคุณเกิดอยากเดินทางออกนอก ประเทศ (ถ้าคุณมีสำเนา I-94 เก็บไว้ คุณไม่ต้องทำใหม่ก็ได้ ยื่นสำเนาให้เจ้าหน้าที่สายการบินตอนขาออกก็ใช้ได้ ยกเว้นถ้าคุณจะทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานะ คุณต้องใช้ I-94 ตัวจริงค่ะ)
ข้อแนะนำ:
คุณ ควรทำสำเนาเอกสารทุกอย่างที่ว่ามาข้างต้นนี้ เก็บไว้ในที่ปลอดภัยเผื่อกรณ๊ฉุกเฉิน นอกจากนี้ ควรสแกนเป็น PDF ไฟล์ ส่งเป็นอีเมล์ถึงตัวคุณเอง วิธีนี้สะดวกตรงที่หากคุณกำลังเดินทาง ไม่สามารถกลับไปเอาสำเนาได้ คุณสามารถปริ้นท์ออกมาได้ทันที และถ้าหากคุณมีสำเนาเอกสารเดิม เวลาทำเรื่องเอกสารใหม่จะทำให้ง่ายเข้าค่ะ
อนุเคราะห์ข้อมูลโดย http://www.lawanwadee.com
Saturday, August 20, 2011
W-8BEN
พูดถึงเรื่องภาษีอเมริกัน คนที่เคยไปเรียน ไปทำงานในอเมริกาคงทราบดีว่าการเก็บภาษีของอเมริกานั้น โครงสร้างและกฏเกณฑ์ค่อนข้างซับซ้อนและที่สำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยทุกปี
ถ้าคุณรับจ๊อบกับบริษัทอเมริกันที่ไม่มีสำนักงานในประเทศไทย และตัวคุณทำงานในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ เขียนโปรแกรม หรืองานกราฟฟิค ภาพเขียน ภาพถ่าย ฯลฯ คุณควรทำความเข้าใจกับระบบภาษีเงินได้ในส่วนที่คุณต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
ปกติถ้าเป็นการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่เป็น resident เช่น เป็นอเมริกันซิติเซ่น หรือถือใบเขียว หรือถือวีซ่าทำงานที่มีทีหน้าที่ต้องเสียภาษีเหมือน resident เช่น วีซ่า E, H, L นายจ้างจะต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับภาษีสี่รายการคือ Federal Income Tax, Social Security, Medicare และ State Tax
แต่ถ้าพนักงานเป็นคนต่างชาติ กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องรายงาน IRS โดยการยื่นฟอร์ม W-8BEN พร้อมทั้ง ITIN (Individual Taxpayer Identification Number) ของพนักงานที่เป็นคนต่างชาติ
W-8BEN คือ Certificate of Foreign Status of Beneficial Owner for United States Tax Withholding หรือภาษาชาวบ้านคือหนังสือรับรองสถานะว่าผู้รับเงินเป็นคนต่างด้าว ซึ่งทำให้ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย Federal Income Tax, Social Security, Medicare และ State Tax ดังนั้นคุณจะได้รับค่าจ้างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายประมาณ 20% เหมือนพลเมืองอเมริกัน
การทำ W-8BEN หนึ่งครั้งมีผลบังคับใช้สามปี ยกเว้นถ้าคุณเกิดไปเรียนต่ออเมริกา หรือได้ใบเขียว หรือได้วีซ่าทำงาน หรือมีเหตุให้ต้องอยู่ในอเมริกาเกินกว่า 183 วันในปีนั้นๆ ระยะเวลาช่วงที่คุณอยู่ในอเมริกาคุณจะต้องเสียภาษีตาอัตรา resident แต่เมื่อกลับเมืองไทยแล้วก็สามารถทำ W-8BEN ใหม่ได้
การรายงานสถานะเป็น W-8BEN นั้น คุณจะต้องยื่นฟอร์ม W-7 ต่อ IRS เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Individual Taxpayer Identification Number หรือ ITIN)
ถ้า คุณมีเงินได้ในส่วนนี้เกิน $600 ต่อปี พอสิ้นปีคุณจะต้องยื่นแบบภาษีต่อ IRS แต่เนื่องจากสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในอเมริกา หรืออยู่ในอเมริกาน้อยกว่า 183 วันต่อปี คุณจะได้ tax credit คือไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ แต่ต้องยื่นแบบภาษีตอนสิ้นปี
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าไม่ยื่นจะเป็นอะไรมั้ย ถ้าจำนวนเงินน้อยคือปีละไม่กี่พันเหรียญ ตรงนี้ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าเป็นเงินจำนวนเกินหนึ่งหมื่นเหรียญต่อปีหรือมากกว่านั้น คุณจะได้รับจดหมายทวงถามจาก IRS ค่ะ
ถ้าคุณได้รับจดหมายทวงถามจาก IRS อย่าเพิกเฉย หรือคิดว่าคุณอยู่เมืองไทย รัฐบาลอเมริกันคงจะทำอะไรคุณไม่ได้ อังเคิลแซมไม่สามารถก้าวข้าม jurisdiction มาถึงเมืองไทยได้ก็จริง แต่ที่เขาจะทำคือ ถ้าหากคุณยังมีรายได้จากการขายภาพของคุณ IRS จะยึดเงินจำนวนนี้ไปหักหนี้แทน (เงินภาษี+ดอกเบี้ย+ค่าปรับชำระล่าช้า)
มีข้อสงสัยเรื่องภาษีอเมริกัน หรือต้องการปรึกษา Licensed Tax Professional ติดต่อได้ที่นี่ค่ะ us.tax515@gmail.com ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ค่ะ
Form: http://www.irs.gov/pub/irs-pdf/fw8ben.pdf
Instructions: http://www.irs.gov/pub/irs-pdf/iw8ben.pdf
อนุเคราะห์ข้อมูลโดยคุณลาวัณย์วดี (http://www.lawanwadee.com/FeatureArticles/W-8BEN.html)
ถ้าคุณรับจ๊อบกับบริษัทอเมริกันที่ไม่มีสำนักงานในประเทศไทย และตัวคุณทำงานในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ เขียนโปรแกรม หรืองานกราฟฟิค ภาพเขียน ภาพถ่าย ฯลฯ คุณควรทำความเข้าใจกับระบบภาษีเงินได้ในส่วนที่คุณต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
ปกติถ้าเป็นการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่เป็น resident เช่น เป็นอเมริกันซิติเซ่น หรือถือใบเขียว หรือถือวีซ่าทำงานที่มีทีหน้าที่ต้องเสียภาษีเหมือน resident เช่น วีซ่า E, H, L นายจ้างจะต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับภาษีสี่รายการคือ Federal Income Tax, Social Security, Medicare และ State Tax
แต่ถ้าพนักงานเป็นคนต่างชาติ กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องรายงาน IRS โดยการยื่นฟอร์ม W-8BEN พร้อมทั้ง ITIN (Individual Taxpayer Identification Number) ของพนักงานที่เป็นคนต่างชาติ
W-8BEN คือ Certificate of Foreign Status of Beneficial Owner for United States Tax Withholding หรือภาษาชาวบ้านคือหนังสือรับรองสถานะว่าผู้รับเงินเป็นคนต่างด้าว ซึ่งทำให้ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย Federal Income Tax, Social Security, Medicare และ State Tax ดังนั้นคุณจะได้รับค่าจ้างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายประมาณ 20% เหมือนพลเมืองอเมริกัน
การทำ W-8BEN หนึ่งครั้งมีผลบังคับใช้สามปี ยกเว้นถ้าคุณเกิดไปเรียนต่ออเมริกา หรือได้ใบเขียว หรือได้วีซ่าทำงาน หรือมีเหตุให้ต้องอยู่ในอเมริกาเกินกว่า 183 วันในปีนั้นๆ ระยะเวลาช่วงที่คุณอยู่ในอเมริกาคุณจะต้องเสียภาษีตาอัตรา resident แต่เมื่อกลับเมืองไทยแล้วก็สามารถทำ W-8BEN ใหม่ได้
การรายงานสถานะเป็น W-8BEN นั้น คุณจะต้องยื่นฟอร์ม W-7 ต่อ IRS เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Individual Taxpayer Identification Number หรือ ITIN)
ถ้า คุณมีเงินได้ในส่วนนี้เกิน $600 ต่อปี พอสิ้นปีคุณจะต้องยื่นแบบภาษีต่อ IRS แต่เนื่องจากสถานะเป็นคนต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในอเมริกา หรืออยู่ในอเมริกาน้อยกว่า 183 วันต่อปี คุณจะได้ tax credit คือไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ แต่ต้องยื่นแบบภาษีตอนสิ้นปี
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าไม่ยื่นจะเป็นอะไรมั้ย ถ้าจำนวนเงินน้อยคือปีละไม่กี่พันเหรียญ ตรงนี้ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าเป็นเงินจำนวนเกินหนึ่งหมื่นเหรียญต่อปีหรือมากกว่านั้น คุณจะได้รับจดหมายทวงถามจาก IRS ค่ะ
ถ้าคุณได้รับจดหมายทวงถามจาก IRS อย่าเพิกเฉย หรือคิดว่าคุณอยู่เมืองไทย รัฐบาลอเมริกันคงจะทำอะไรคุณไม่ได้ อังเคิลแซมไม่สามารถก้าวข้าม jurisdiction มาถึงเมืองไทยได้ก็จริง แต่ที่เขาจะทำคือ ถ้าหากคุณยังมีรายได้จากการขายภาพของคุณ IRS จะยึดเงินจำนวนนี้ไปหักหนี้แทน (เงินภาษี+ดอกเบี้ย+ค่าปรับชำระล่าช้า)
มีข้อสงสัยเรื่องภาษีอเมริกัน หรือต้องการปรึกษา Licensed Tax Professional ติดต่อได้ที่นี่ค่ะ us.tax515@gmail.com ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ค่ะ
Form: http://www.irs.gov/pub/irs-pdf/fw8ben.pdf
Instructions: http://www.irs.gov/pub/irs-pdf/iw8ben.pdf
อนุเคราะห์ข้อมูลโดยคุณลาวัณย์วดี (http://www.lawanwadee.com/FeatureArticles/W-8BEN.html)
Thursday, August 11, 2011
Ten Tax Tips for Individuals Selling Their Home
The Internal Revenue Service has some important information to share with individuals who have sold or are about to sell their home. If you have a gain from the sale of your main home, you may qualify to exclude all or part of that gain from your income. Here are ten tips from the IRS to keep in mind when selling your home.
- In general, you are eligible to exclude the gain from income if you have owned and used your home as your main home for two years out of the five years prior to the date of its sale.
- If you have a gain from the sale of your main home, you may be able to exclude up to $250,000 of the gain from your income ($500,000 on a joint return in most cases).
- You are not eligible for the exclusion if you excluded the gain from the sale of another home during the two-year period prior to the sale of your home.
- If you can exclude all of the gain, you do not need to report the sale on your tax return.
- If you have a gain that cannot be excluded, it is taxable. You must report it on Form 1040, Schedule D, Capital Gains and Losses.
- You cannot deduct a loss from the sale of your main home.
- Worksheets are included in Publication 523, Selling Your Home, to help you figure the adjusted basis of the home you sold, the gain (or loss) on the sale, and the gain that you can exclude.
- If you have more than one home, you can exclude a gain only from the sale of your main home. You must pay tax on the gain from selling any other home. If you have two homes and live in both of them, your main home is ordinarily the one you live in most of the time.
- If you received the first-time home buyer credit and within 36 months of the date of purchase, the property is no longer used as your principal residence, you are required to repay the credit. Repayment of the full credit is due with the income tax return for the year the home ceased to be your principal residence, using Form 5405, First-Time Homebuyer Credit and Repayment of the Credit. The full amount of the credit is reflected as additional tax on that year’s tax return.
- When you move, be sure to update your address with the IRS and the U.S. Postal Service to ensure you receive refunds or correspondence from the IRS. Use Form 8822, Change of Address, to notify the IRS of your address change.
For more information about selling your home, see IRS Publication 523, Selling Your Home. This publication is available at www.irs.gov or by calling 800-TAX-FORM (800-829-3676).
Subscribe to:
Posts (Atom)